ความแข็งแรงของคอนกรีตผสมเสร็จ
คอนกรีตผสมเสร็จเมื่อหล่อ และถอดแบบแล้วก็มีความแข็งแรง เหมือนดั่งหินแต่ในความเป็นจริงแล้ว คอนกรีตผสมเสร็จที่ใช้งาน ของโครงสร้างที่ไม่เหมือนกัน จะมีค่าความแข็งแรง (STRENGTH) ไม่เท่ากัน ดังเช่นคอนกรีตผสมเสร็จที่สร้างบ้าน ก็จะมีความแข็งแรงน้อยกว่า คอนกรีตผสมเสร็จ ที่ใช้สร้างอาคารขนาดใหญ่ ซึ่งความแข็งแรงของคอนกรีตผสมเสร็จ มีหน่วยวัดเป็น แรง/ตร.ซม. (กิโลกรัม/ตารางเซ็นติเมตร) ซึ่งผู้ออกแบบหรือวิศวกรโครรงสร้าง จะต้องมีระบุไว้ในแบบก่อสร้างทุกโครงการว่า ได้มีการออกแบบโครงสร้าง ด้วยกำลังความแข็งแรงหรือกำลังอัด (Strength)ของ คอนกรีตผสมเสร็จเท่าไร โดยในแบบก่อสร้างจะมีระบุ ไว้ในแบบแผ่นแรกๆ โดยมักจะเขียนไว้ว่าต้องการ คอนกรีตผสมเสร็จที่มีกำลังเท่าไร เช่นเขียนไว้ว่าต้องการ คอนกรีตผสมเสร็จกำลัง 240 ksc. (kilogram per square centimeter)
ค่ากำลังอัดของคอนกรีตผสมเสร็จ ได้มาจากการเก็บตัวอย่าง คอนกรีตผสมเสร็จ เป็นทรงกระบอกขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 15 ซม. และสูง 30 ซม. นำมากดจนแตก และวัดค่าแรงที่ต้องใช้ในการกด (อาจเก็บเป็นรูปลูกบาศก์ขนาด 15 x 15 ซม.) และค่ากำลังของคอนกรีตผสมเสร็จ ที่จะพัฒนาจนสูงสุดอยู่ที่ 28 วัน ดังนั้นในการก่อสร้างเมื่อมีการเท คอนกรีตผสมเสร็จคาน จึงต้องรอจนคอนกรีตผสมเสร็จแข็งตัว และมีกำลังอัดพอเพียงที่จะไม่แตกร้าว โดยทั่วไปยอมให้ที่ระยะเวลาครึ่งหนึ่ง จึงจะถอดค้ำยันท้องคานได้ (14 วัน)
กำลังอัดของคอนกรีตผสมเสร็จ ที่ใช้ออกแบบและก่อสร้างตามกำหนด ของ กทม. คือ 173 ksc. และต่างจังหวัดอยู่ที่ 144 ksc. จะเห็นว่าระบุค่ากำลังคอนกรีตผสมเสร็จ ไม่สูงมากนัก สำหรับการทำงานบ้าน เนื่องจากว่าการสร้างบ้านโดยทั่วไป บางครั้งผู้ที่ทำการก่อสร้าง อาจไม่ได้มีการควบคุมคุณภาพที่พอเพียง จึงต้องกำหนดให้ค่ากำลัง คอนกรีตผสมเสร็จไม่สูง เพราะไม่ว่าจะหล่อคอนกรีตอย่างชาวบ้านทั่วไป อย่างไรเสียก็จะได้ คอนกรีตผสมเสร็จ กำลังที่ต้องการ