การลำเลียงคอนกรีต
การลำเลียงคอนกรีต
การลำเลียงคอนกรีตผสมเสร็จ ควรจะคำนึงถึงคอนกรีต ในขณะที่ลำเลียงให้ เกิดการแยกตัวน้อยที่สุด การลำเลียงนั้นจะต้องกระทำกันให้รวดเร็วก่อนที่คอนกรีตจะเกิดการก่อตัว ดังนั้นจึงต้องมาการวางแผนการเทคอนกรีตทุกครั้ง โดยคำนึงถึงปริมาณคอนกรีตที่จะเท สภาพคอนกรีตที่จะเท
- มีความข้นเหลวมากเพียงใด
- ลักษณะงานที่จะต้องเทเป็นประเภทงานโครงสร้างอะไร
- อุปกรณ์ที่ใช้เทต้องเหมาะกับงานนั้น
เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความคล่องตัวมากขึ้น หลักการควรพิจารณาการลำเลียงคอนกรีตมีดังนี้
- การเลือกใช้คอนกรีตผสมเสร็จ ลักษณะของคอนกรีตในแบบก่อสร้าง ผู้ออกแบบจะกำหนดกำลังอัดของคอนกรีตมาในแบบอยู่แล้ว แต่หลักที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม คือ ระยะทางในเดินทางจากโรงผลิตจึงถึงจุดเท หรือหน้างาน ใช้เวลาเท่าไร บางโครงสร้างกำหนดใช้คอนกรีตที่มีกำลังสูงมาก แล้วสภาพของคอนกรีต ก็จะมีความข้นเหลวมาก การก่อตัวเร็ว ดังนั้นจะทำอย่างไรที่จะทำให้คอนกรีตข้นเหลวพอดีแล้วการไหลเข้าแบบได้ดี ดังที่กล่าวมานั้นมันขึ้นอยู่ส่วนผสมของคอนกรีต วัตถุดิบที่ใช้ สารผสมเพิ่ม อุณหภูมิ ความชื้นของอากาศ ที่เป็นปัจจัยที่ทำให้คอนกรีตตัวช้าหรือเร็ว
- การวางแผนการลำเลียงคอนกรีต การจัดส่งคอนกรีต ชนิดและปริมาณที่ส่ง ระยะเวลาในการออกรถแต่ละคัน ที่จะส่งถึงจุดที่จะเท จะต้องทำความเข้าใจตรงกันกับผู้ส่งในเรื่องเส้นทาง สถานที่การเข้าออกของรถห้าม มิให้มีการติดขัดเรื่องการเข้าออก หรือเส้นทางในเขตชุมชน ที่มีความคับแคบของช่องทางจะต้องจัดแผน การเข้าออกของรถให้ดีอย่าให้รถติดขัดตรงทางเข้าจะทำให้เสียเวลา เครื่องมือและคนงานในการลำเลียง จะต้องเป็นไปอย่างรวดเร็วและประหยัด จึงเป็นหน้าที่ของผู้คุมงานหาเครื่องมือที่จะลำเลียงคอนกรีตได้เร็วและ ประหยัดในสถานที่ก่อสร้างนั้น ๆ ดังที่กล่าวมาในข้อสองนั้นว่าจะต้อง พิจารณาในเรื่องประหยัดมีความรวดเร็ว และสถานที่ในการก่อสร้างที่เหมาะสม ใช้เครื่องมือลำเลียงคอนกรีต โดยประเภทเครื่องมือในการลำเลียงมีดังนี้
ภาพประกอบ : ปูนมิกซ์