คอนกรีตห้องเย็น 380 ksc.cu. ของบัวคอนกรีต
บัวคอนกรีตห้องเย็น(Freezing Room Concrete) จากปูนดอกบัว สำหรับงานห้องเย็น ตอบสนองความต้องการงานก่อสร้างที่มีส่วนการสัมผัสกับความเย็น ด้วยคอนกรีตผสมเสร็จมาตรฐานที่ มีกำลังอัดรูปทรงลูกบาศก์ มาตรฐานให้เลือกใช้ได้ตั้งแต่ 350 - 400 กก./ ตร.ซม. คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบตามมาตรฐาน ACI 201.2R-08 ทำให้มีกำลังอัด (Strength) และค่าความยุบตัว (Slump) ที่เหมาะสำหรับการใช้งานห้องเย็น ทำให้คอนกรีตที่ผลิตจากโรงผลิตบัวคอนกรีต มีคุณสมบัติเต็มประสิทธิภาพ สำหรับงานก่อสร้างห้องเย็น การรับแรงของบัวคอนกรีตจะเต็มคุณภาพตามมาตรฐาน เมื่อคอนกรีตมีอายุมากกว่า 28 วัน ทั้งนี้การที่คอนกรีตผสมเสร็จ มีคุณสมบัติตามต้องการ กรรมวิธีการผลิต การขนส่ง ระยะเวลาการเทคอนกรีตไม่เกินเวลาที่กำหนด การบ่มคอนกรีตถูกต้อง และต้องเป็นไปตามมาตรฐานการเทคอนกรีตผสมเสร็จ
ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมเสร็จชนิดนี้ออกแบบไว้สำหรับโครงสร้างที่ต้องการคอนกรีตที่มีกำลังอัด 35 ถึง 40 MPa ที่อายุ 28 วัน ตามมาตรฐานการทดสอบ ASTM C39 คอนกรีตสดที่มาถึงหน้างานมีค่าการยุบตัว 5 ถึง 10 ซม. ตามมาตรฐานการชักตัวอย่างคอนกรีตสด(มอก.)1736
ข้อมูลการสั่งซื้อ บัวคอนกรีต
- ราคาแนะนำทั้งหมดนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า (All suggested prices quoted are subject to change without notice.)
- ราคาแนะนำทั้งหมดเป็นราคาไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (All suggested prices quoted are exclusive of value added tax.)
- กรณีการจัดส่งคอนกรีตต่ำกว่า 4 ลบ.ม./เที่ยว มีค่าขนส่งเพิ่มเติม (In case that order of concrete delivery is less than 4 cu.m. truck We’ll make the delivery sercharge for difference of 4 cu.m.)
ส่วนประกอบสำคัญของบัวคอนกรีตอัดแรง
- วัสดุประสาน : 400 - 475 kg.
- อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน : 0.36 - 0.41
- เถ้าลอย : 20% ในการแทนที่ปูนซีเมนต์ ตามมาตรฐาน ASTM 618-96
- ปูนซีเมนต์ : ตามมาตรฐาน ASTM C150 และ มอก.15-1
- น้ำยา : ประเภท A&D ตามมาตรฐาน ASTM C494
- หิน-ทราย : ตามมาตรฐาน ASTM C33 และ มอก. 566
บัวคอนกรีต
งานฐานราก ขนาดเล็ก ต่ำกว่า 0.5 เมตร สามารถเลือกใช้ คอนกรีตที่มีกำลังอัด 240 - 280 กก./ตร.ซม. หากใหญ่กว่า 0.5 เมตร ควรเลือกใช้ คอนกรีตความร้อนต่ำ เพื่อลดปัญหาการแตกร้าว ซึ่งมีสาเหตุมาจากความร้อน ฐานรากขนาดใหญ่ งานเสา คาน ควรเลือกกำลังอัด ตั้งแต่ 240 - 280 กก./ตร.ซม. สำหรับเสาหรือคานที่ไม่ใหญ่มากนัก ส่วนเสา คาน ที่มีการเสริมเหล็กอย่างแน่นหนาทำให้การเทคอนกรีตทำได้ยาก สามารถเลือกใช้คอนกรีต แบบเหลวพิเศษ ซึ่งคอนกรีตที่ออกแบบมาจะมีค่ายุบตัว เกิน 15 ซม. กำลังอัดทีใช้ควรอยู่ที่ 280 -500 กก./ตร.ซม. นอกจากนี้ยังมีคอนกรีตที่สามารถไหลเข้าแบบทุกซอกทุกมุมของแบบหล่อ ซึ่งต้องระบุในการสั่งคอนกรีตเพื่อใช้งาน สามารถหาความรู้เพิ่มเกี่ยวกับกำลังอัด ค่ายุบตัวได้ที่ สาระประโยชน์
คอนกรีตห้องเย็น 380 ksc.cu. ใช้ได้ดีกับงาน
บัวคอนกรีตห้องเย็น (Freezing Room Concrete) คอนกรีตผสมเสร็จสำหรับห้องเย็น โครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง และมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างฉับพลันอยู่อย่างสม่ำเสมอ โดยการเพิ่มปริมาณฟองอากาศในเนื้อคอนกรีต เพื่อรองรับการขยายตัวของน้ำในเนื้อคอนกรีต เนื่องจากน้ำมีการเปลี่ยนแปลงปริมาตร เมื่อน้ำมีการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง ส่วนผสมของคอนกรีตประเภทนี้มีการผสมน้ำยากักกระจายฟองอากาศ
- ห้องเย็น
- ห้องแช่แข็ง
- ห้องปรับอุณหภูมิ ที่มีอุณหภูมิติดลบ
วิธีการทำงานกับคอนกรีตห้องเย็น 380 ksc.cu.
เหมาะสำหรับหน้างานทั่วไปที่ใช้วิธีการเทแบบถัง (Bucket) , ราง (Chute) หรือการเทด้วยปั๊มคอนกรีต สามารถเลือกค่ายุบตัวที่เหมาะสมได้
การใช้งานคอนกรีตผสมเสร็จห้องเย็นอย่างถูกวิธี
- การเทคอนกรีตประเภทนี้ ควรหลีกเลี่ยงการเทในที่ปิด เพราะคอนกรีตประเภทนี้ ให้ความร้อนในการทำปฏิกิริยาสูง เนื่องจากปริมาณปูนซีเมนต์ที่ใช้ในส่วนผสมคอนกรีต มีปริมาณสูงกว่าส่วนผสมของคอนกรีตปกติ เพื่อชดเชยในเรื่องของกำลังอัดที่สูญเสียไปเนื่องจากฟองอากาศในเนื้อคอนกรีตที่เพิ่มมากขึ้น
- ควรบ่มคอนกรีตทันทีหลังจากขัดผิวหน้าคอนกรีตเสร็จ โดยใช้น้ำพรมเป็นละอองบางๆ แล้วใช้แผ่นพลาสติกหรือกระสอบชุบน้ำหมาดๆคลุมผิวหน้าคอนกรีต และควรบ่มคอนกรีตต่อเนื่องอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 7 วัน
- หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง
- ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำ
- การลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูง เพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่น อย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกัน ไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว
- หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ ลดปัญหาในเรื่องของการแตกร้าวของคอนกรีตเนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์
- การเทคอนกรีตอย่างถูกวิธีนั้นควรเทในแนวดิ่งให้ใกล้จุดที่ต้องการจะเทมากที่สุด โดยไม่ควรให้คอนกรีตตกจากที่สูงเกิน 1.5 เมตร รวมถึงไม่ควรให้คอนกรีตไหลในแนวราบ
- การลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูง เพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่น อย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกัน ไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว
- หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ ลดปัญหาในเรื่องของการแตกร้าวของคอนกรีตเนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์
- ระยะเวลาการเทคอนกรีตไม่เกิน 120 นาที เริ่มนับตั้งแต่รถขนส่งคอนกรีต ออกจากโรงผลิต
- ระยะทาง ระหว่างจุดเทคอนกรีต กับ โรงผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ ต้องใกล้กันมากที่สูด เจ้าหน้าที่ปูนมิกซ์ของเราจะตรวจสอบ จุดเทคอนกรีตกับโรงผลิตและเลือกหน่วยผลิตที่เหมาะสมให้ เพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้าของเราทุกท่าน T.02 -946 -6352‚02 -946- 7569
ข้อเสนอแนะ
ขนาดรถโม่เล็กบัวคอนกรีต
- น้ำหนักบรรทุก :
-
- น้ำหนักรถ :
- 9 ตัน
- น้ำหนักคอนกรีต :
- 4.8 ตัน
- ขนาดรถ :
-
- กว้าง :
- 2 เมตร
- ยาว :
- 5 เมตร
- สูง :
- 2.7 เมตร
- น้ำหนักคอนกรีต :
-
- 1 คิว :
-
- คอนกรีตผสมเสร็จ :
- 2.4 ตัน
- น้ำหนักรวม :
- 11.4 ตัน
- 2 คิว :
-
- คอนกรีตผสมเสร็จ :
- 4.8 ตัน
- น้ำหนักรวม :
- 13.8 ตัน
ขนาดรถโม่ใหญ่บัวคอนกรีต
- น้ำหนักบรรทุก :
-
- น้ำหนักรถ :
- 13 ตัน
- น้ำหนักคอนกรีต :
- 12 ตัน
- ขนาดรถ :
-
- กว้าง :
- 2.5 เมตร
- สูง :
- 3.8 เมตร
- น้ำหนักคอนกรีต :
-
- 1 คิว :
-
- คอนกรีตผสมเสร็จ :
- 2.4 ตัน
- น้ำหนักรวม :
- 15.4 ตัน
- 2 คิว :
-
- คอนกรีตผสมเสร็จ :
- 4.8 ตัน
- น้ำหนักรวม :
- 17.8 ตัน
- 3 คิว :
-
- คอนกรีตผสมเสร็จ :
- 7.2 ตัน
- น้ำหนักรวม :
- 20.2 ตัน
- 4 คิว :
-
- คอนกรีตผสมเสร็จ :
- 9.6 ตัน
- น้ำหนักรวม :
- 22.6 ตัน
- 5 คิว :
-
- คอนกรีตผสมเสร็จ :
- 12 ตัน
- น้ำหนักรวม :
- 25 ตัน