คอนกรีตโพสท์เทนชั่น 350 Ksc.Cu 3 วัน ของคิวมิกซ์
คอนกรีตผสมเสร็จที่ถูกออกแบบมาสำหรับงานโพสท์เทนชั่นโดยเฉพาะ โดยคอนกรีตจะมีการพัฒนากำลังอัดช่วงต้นเร็วกว่าคอนกรีตทั่วไป โดยมีกำลังอัดตั้งแต่ 280 กก./ตร.ซม.(ทรงลูกบาศก์ ) ที่อายุตั้งแต่ 3 วัน ส่งผลให้สามารถทำการอัดแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดเวลาในการก่อสร้าง นอกจากนี้ เนื้อคอนกรีตยังมีความไหลลื่น สามารถปั๊มขึ้นที่สูงได้ง่าย เทคอนกรีตจี้เขย่า อัดแน่นได้สะดวก และรวดเร็ว เนื้อคอนกรีตมีความไหลลื่น สามารถปั๊มขึ้นที่สูงได้ง่าย เทคอนกรีต จี้เขย่า อัดแน่นได้สะดวก และรวดเร็ว
มีกำลังอัดให้เลือกใช้ ตั้งแต่ 280 กก./ตร.ซม.(ทรงลูกบาศก์ ) ที่อายุตั้งแต่ 2 วัน เหมาะสำหรับ งานพื้นระบบโพสท์เทนชั่น (Post-Tension Floor System) เป็นที่นิยมใช้งาน เพราะให้ประโยชน์ในเรื่องลดเวลาการทำงาน ลดค่าแรง เพราะเมื่อเทคอนกรีต เสร็จ คอนกรีตได้กำลังอัดแรง สามารถสร้างชั้นต่อไปได้เลย,ความเร็วในการก่อสร้าง, ช่วงระหว่างเสาที่มากกว่า, ลดความสูงระหว่างชั้นลงเพราะไม่มีคาน, ลดน้ำหนักโดยรวมขององค์อาคารลงได้
คอนกรีตโพสเทนชั่น รองรับกำลังอัด 350 กก.ต่อ ตร.ซม. ลูกบาศก์ หรือ กำลังอัด 300 กก.ต่อตร.ซม.ทรงกระบอก ที่ 28 วัน ที่อายุ 3 วัน ค่ายุบตัว 7.5-12.5 ซม. สำหรับงาน Post-tension ที่ต้องการกำลังอัด 3 วัน ในการดึงสลิง และส่งคอนกรีตด้วยปั๊มคอนกรีต พื้นระบบ Post Tension คือพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง ที่จะมีการดึงเหล็กเส้นที่อยู่ในคอนกรีตภายหลังเทคอนกรีตแล้วเสร็จ เพื่อให้โครงสร้างสามารถรับแรงได้มากกว่าปกติ จนทำให้โครงสร้างพื้นเห็นเป็นเพียงแผ่นคอนกรีตบาง ๆ (20-28 ซม.) ไม่มีคานมารับตามช่วงเสา พื้นระบบ Post Tension นี้ดีเพราะก่อสร้างไม่ยากนัก (ง่ายกว่าระบบมีคานแยะ) และลดค่าใช้จ่ายในงานโครงสร้างได้พอสมควรทีเดียว
คิวมิกซ์
งานฐานราก ขนาดเล็ก ต่ำกว่า 0.5 เมตร สามารถเลือกใช้ คอนกรีตที่มีกำลังอัด 240 - 280 กก./ตร.ซม. หากใหญ่กว่า 0.5 เมตร ควรเลือกใช้ คอนกรีตความร้อนต่ำ เพื่อลดปัญหาการแตกร้าว ซึ่งมีสาเหตุมาจากความร้อน ฐานรากขนาดใหญ่ งานเสา คาน ควรเลือกกำลังอัด ตั้งแต่ 240 - 280 กก./ตร.ซม. สำหรับเสาหรือคานที่ไม่ใหญ่มากนัก ส่วนเสา คาน ที่มีการเสริมเหล็กอย่างแน่นหนาทำให้การเทคอนกรีตทำได้ยาก สามารถเลือกใช้คอนกรีต แบบเหลวพิเศษ ซึ่งคอนกรีตที่ออกแบบมาจะมีค่ายุบตัว เกิน 15 ซม. กำลังอัดทีใช้ควรอยู่ที่ 280 -500 กก./ตร.ซม. นอกจากนี้ยังมีคอนกรีตที่สามารถไหลเข้าแบบทุกซอกทุกมุมของแบบหล่อ ซึ่งต้องระบุในการสั่งคอนกรีตเพื่อใช้งาน สามารถหาความรู้เพิ่มเกี่ยวกับกำลังอัด ค่ายุบตัวได้ที่ สาระประโยชน์
คอนกรีตโพสท์เทนชั่น 350 Ksc.Cu 3 วัน ใช้ได้ดีกับงาน
พื้นระบบ Post Tension คือพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่ไม่มีคาน ตัวพื้นจะถ่ายแรงลงเสา พื้นจะมีความหนา 20-25 ซม. ภายในมีการดึงลวดให้ได้กำลังอัดตามที่คำนวณไว้ ทำให้พื้นมีความแข็งแรงกว่าพื้นทั่วไป เหมาะกับงานตึกสูง เพราะการที่ไม่มีคาน ทำให้ ความสูง floor to floor ของแต่ละชั้น น้อยลงมาก ทำให้ได้จำนวนชั้นมากขึ้นวิธีทำคร่าวๆก็คือ วางลวดไว้ในท่อก่อนตามที่คำนวณไว้ แล้วเทคอนกรีต พอคอนกรีตให้กำลังอัดประมาณ 80% (รู้ได้โดยเค้าจะเก็บตัวอย่างคอนกรีตที่เทไว้ทดสอบกำลังอัดในห้องทดลอง ประมาณ 3 วันหลังจากเท) แล้วก็ค่อยดึงลวดตามแรงที่กำหนดไว้โดยวิศวกร พื้นที่ใช้หลังแรงดึงลวดนี้มีอีกประเภทคือ Pre-Stress คือดึงลวดก่อน แล้วค่อยเทคอนกรีต พวกนี้จะใช้กับพื้นสำเร็จ เพราะผลิตในโรงงาน เลยมีเครื่องดึงลวดไว้ได้ตลอดเวลา
พื้นโพสเทนชั่น( Post Tension ) คือพื้นคอนกรีตเสริมลวดเหล็กสลิงอัดแรง ที่จะมีการดึงลวดเหล็กสลิงเส้นที่อยู่ในคอนกรีตภายหลังเทคอนกรีตแล้วเสร็จ เพื่อให้โครงสร้างสามารถรับแรงได้มากกว่าปกติ จนทำให้โครงสร้าง พื้นคอนกรีตเห็นเป็นเพียงแผ่นคอนกรีต ที่มีความหนาของคอนกรีตเพียง 20-28 ซม. ไม่ต้องมีคานมารับตามช่วงเสา ทำให้พื้นโพสเทนชั่น( Post Tension )สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายงานโครงสร้างของอาคารโดยรวมถูกลง
วิธีการทำงานกับคอนกรีตโพสท์เทนชั่น 350 Ksc.Cu 3 วัน
การเทคอนกรีตพื้นโพสเทนชั่น
ในระหว่างการเทคอนกรีตจะต้องระมัดระวังคนงานและท่อส่งคอนกรีตของ PUMP CONCRETE ไม่ให้กระทบกระเทือนระดับและแนวของลวด STRAND เพราะอาจทำให้ PROFILE ผิดไปและในบริเวณสมอยึด ANCHORAGE จะต้องเขย่าคอนกรีตให้เต็ม มิฉะนั้นอาจจะเกิดโพรงทำให้คอนกรีตแตกระเบิดขณะดึงลวดได้
การบ่มคอนกรีตโพสเทนชั่น
เมื่อคอนกรีตเริ่มแข็งตัวจะต้องทำการบ่มทันที มิฉะนั้นคอนกรีตจะแตกบริเวณผิวบน เนื่องจากการหดตัวเมื่อแห้ง (SHRINKAGE) ของคอนกรีตเอง
การใช้เทคอนกรีตผสมเสร็จอย่างถูกต้อง
- หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง
- ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูง เพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่น อย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกัน ไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว
- หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ ลดปัญหาในเรื่องของการแตกร้าวของคอนกรีตเนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์
ข้อเสนอแนะ
ข้อควรระวังกรณีใช้คอนกรีตแรงอัดสูง
คอนกรีตผสมเสร็จที่กำลังอัดสูงนั้น จะมีระยะเวลาแข็งตัวที่เร็วกว่า คอนกรีตที่มีกำลังอัดต่ำ ฉะนั้นการเตรียมพร้อมหน้างานต้องดี ไม่อย่างนั้นแล้ว จะไม่สามารถเทคอนกรีต ทันเวลา