คอนกรีตผสมเสร็จ งานเข็มเจาะเล็ก กำลังอัด 240 ksc.cu. ของน่ำเฮง
240 ksc.Cube 210 ksc. Cylinder
คอนกรีตผสมเสร็จ กำลังอัดประลัย 240 ก.ก./ตร.ซม. 28 วันคอนกรีตงานเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก สำหรับเทคอนกรีต งานฐานราก ประเภทงานเสาเข็มเจาะเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง 35 cm. 40 cm. 50 cm. และ 60 cm.สั่งคอนกรีตผสมเสร็จ โทร. 0 2946 6352, 0 2946 7569
ขั้นตอนการสั่งซื้อคอนกรีต
- แผนที่งาน ที่ต้องการใช้คอนกรีตผสมเสร็จ และแจ้งชื่อผู้ติดต่อ นายช่าง ช่างที่ควบคุมการเทคอนกรีตผสมเสร็จ
- กำลังอัดของคอนกรีต ที่ต้องการสั่งซื้อ
- ปริมาณคอนกรีตผสมเสร็จที่ต้องใช้เป็นลูกบาศก์เมตร หรือ คิว ระยะเว้นช่วงของรถปูนส่ง
- วันเวลาที่ต้องการเทคอนกรีต
- การจองเวลาเทคอนกรีตผสมเสร็จ ควรจองล่วงหน้าก่อน 1-3 วันก่อนเวลาเทจริง เพื่อให้ได้เวลาเทคอนกรีตตรง วัน-เวลา ที่ท่านต้องการเทคอนกรีต
- ชำระเงินก่อนเทคอนกรีต เมื่อโอนชำระเงินแล้วกรุณาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ ผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้ ส่ง SMS, โทรศัพท์แจ้ง, LINE หรือ แฟกซ์ เอกสาร หลักฐานการชำระเงิน(สลิป) ให้เจ้าหน้าที่ทราบ เพื่อดำเนินการเปิดหน่วยงานและจัดส่งตามกำหนดเวลาต่อไป
น่ำเฮง
งานฐานราก ขนาดเล็ก ต่ำกว่า 0.5 เมตร สามารถเลือกใช้ คอนกรีตที่มีกำลังอัด 240 - 280 กก./ตร.ซม. หากใหญ่กว่า 0.5 เมตร ควรเลือกใช้ คอนกรีตความร้อนต่ำ เพื่อลดปัญหาการแตกร้าว ซึ่งมีสาเหตุมาจากความร้อน ฐานรากขนาดใหญ่ งานเสา คาน ควรเลือกกำลังอัด ตั้งแต่ 240 - 280 กก./ตร.ซม. สำหรับเสาหรือคานที่ไม่ใหญ่มากนัก ส่วนเสา คาน ที่มีการเสริมเหล็กอย่างแน่นหนาทำให้การเทคอนกรีตทำได้ยาก สามารถเลือกใช้คอนกรีต แบบเหลวพิเศษ ซึ่งคอนกรีตที่ออกแบบมาจะมีค่ายุบตัว เกิน 15 ซม. กำลังอัดทีใช้ควรอยู่ที่ 280 -500 กก./ตร.ซม. นอกจากนี้ยังมีคอนกรีตที่สามารถไหลเข้าแบบทุกซอกทุกมุมของแบบหล่อ ซึ่งต้องระบุในการสั่งคอนกรีตเพื่อใช้งาน สามารถหาความรู้เพิ่มเกี่ยวกับกำลังอัด ค่ายุบตัวได้ที่ สาระประโยชน์
คอนกรีตผสมเสร็จ งานเข็มเจาะเล็ก กำลังอัด 240 ksc.cu. ใช้ได้ดีกับงาน
คอนกรีตมาตรฐาน กำลังอัด 380 ksc.cu
คอนกรีตกำลังอัดสูง มีความแข็งสูงกว่าคอนกรีตกำลังอัดต่ำ ระยะเวลาในการแข็งตัวของคอนกรีตก็มีระยะเวลาที่สั้นกว่า ขั้นตอนการเตรียมงานต้อง ต้องให้ความสำคัญในเรื่องระยะเวลาในเทคอนกรีต มากกว่าคอนกรีตกำลังต่ำ
งานโครงสร้างที่เหมาะสมกับคอนกรีตมาตรฐาน 380 ksc.cu. งานโครงสร้างทั่วไป เช่น งานพื้นบ้าน โรงงาน ถนน หรือใช้กับโครงสร้างหลัก งานเทคาน งานเทตอม่อ งานฐานราก โดยสามารถรองรับน้ำหนักที่มากขึ้น ต้องการความแข็งแรงที่มากกว่า
วิธีการทำงานกับคอนกรีตผสมเสร็จ งานเข็มเจาะเล็ก กำลังอัด 240 ksc.cu.
หลักมาตรฐานการทำงานและวิธีการทำงานคอนกรีต
การลำเลียงคอนกรีต
การลำเลียงคอนกรีตสดต้องคำนึงถึงสภาพการลำเลียงคอนกรีต ให้เนื้อคอนกรีตมีความสม่ำเสมอ ไม่แยกตัว ก่อนการเทลงแบบ รวมถึงการป้องกันคอนกรีตจากสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ เช่น อุณหภูมิ ความร้อน และความชื้น เป็นต้น
- คอนกรีตผสมเสร็จอยู่ เท่ากันกับ ระดับเดียวกับบริเวณที่ต้องการเทคอนกรีต เลือกวธีลำเลียงด้วย คน รถเข็น คนงาน รถเข็น รถโม่ สายพานลำเลียง หรือคอนกรีตปั๊ม เพิ่มความแข็งแรง ยืดอายุการใช้งานโครงสร้างได้ยาวนาน ปลอดภันต่อชีวิตและทรัพย์สิน ระยะยาว สำหรับงานเทพื้นราบ ช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพจากการแยกตัวของคอนกรีต
- คอนกรีตผสมเสร็จอยู่ ต่ำกว่า ระดับเดียวกับบริเวณที่ต้องการเทคอนกรีต เลือกวธีลำเลียงด้วย รอก ใช้ลิฟท์ รถเครน ทาวเวอร์เครน สายพานลำเลียง หรือคอนกรีตปั๊ม เพิ่มความแข็งแรง ยืดอายุการใช้งานโครงสร้างได้ยาวนาน ปลอดภันต่อชีวิตและทรัพย์สิน ระยะยาว สำหรับงานเทพื้นราบ ช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพจากการแยกตัวของคอนกรีต
- คอนกรีตผสมเสร็จอยู่ สูงกว่า ระดับเดียวกับบริเวณที่ต้องการเทคอนกรีต เลือกวธีลำเลียงด้วย ราง สายพานลำเลียง หรือคอนกรีตปั๊ม เพิ่มความแข็งแรง ยืดอายุการใช้งานโครงสร้างได้ยาวนาน ปลอดภันต่อชีวิตและทรัพย์สิน ระยะยาว สำหรับงานเทพื้นราบ ช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพจากการแยกตัวของคอนกรีต
- คอนกรีตผสมเสร็จอยู่ ไกลจาก กับบริเวณที่ต้องการเทคอนกรีต เลือกวธีลำเลียงด้วย คอนกรีตปั๊มลาก เดินท่อลำเลียง ปั๊มคอนกรีตปั๊มท่อ
วิธีลำเลียงคอนกรีตสด
» อ่านเพิ่มเติมการลำเลียงคอนกรีต
การเทคอนกรีต
ต้องเทคอนกรีตให้สามารถเทได้อย่างต่อเนื่อง อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ไร้อุปสรรคต่องานที่ไม่เกี่ยวข้อง การเทคอนกรีตที่ถูกต้องคือ
- เทเพื่อให้ได้คอนกรีตที่ มีส่วนผสมสม่ำเสมอ ไม่มีการแยกตัว และไม่เกิดรูพรุน
- เทเพื่อไม่ให้คอนกรีตกระทบ โดยตรงกับเหล็กเสริมหรือข้างแบบ ควรเทคอนกรีตลงมาตรงๆ
- ไม่ควรให้คอนกรีตไหลไป ในแนวราบเป็นระยะทางไกล ยกเว้นในกรณีของคอนกรีตไหลตัวได้ดี ซึ่งถูกออกแบบโดยมีการควบคุมการแยกตัว ถ้าพบว่ามีการแยกตัวของคอนกรีต หลังเริ่มการเทคอนกรีต ต้องรีบการแก้ไขทันที
- กรณีที่แบ่งเทคอนกรีตต่อเนื่องกันเป็นชั้นๆ คอนกรีตที่เททับใหม่ในชั้นบนควรเททับก่อนที่คอนกรีตชั้นล่างจะเริ่มก่อตัว
- กรณีงานเสาเข็มเจาะ เสาโครงสร้าง หรือโครงสร้างที่มีแบบมีความสูงมาก ไม่ควรเทคอนกรีตโดยปล่อยให้ คอนกรีตตกอิสระจากส่วนบนที่สุดของตัวแบบ แต่ควรเลือกวิธีที่เหมาะสม เช่น สายพาน รางเท (Chute) กรวยเทคอนกรีต ถัง หรือต่อท่อ เพื่อให้ระยะตกอิสระของคอนกรีตไม่เกิน 1.5 เมตร
- ถ้าตรวจพบการเยิ้มของ คอนกรีตระหว่างการเทคอนกรีต ควรหยุดเทจนกว่าจะกำจัดน้ำที่เยิ้มออกมาบนผิวคอนกรีตให้หมดก่อน ที่จะเทคอนกรีตทับชั้นบนต่อไป
- การเทคอนกรีตต่อเนื่องกันใน อาคารที่มีความสูง เช่น เสา หรือกำแพง ควรเทด้วยอัตราที่ไม่เร็วเกินไป โดยปกติอัตราการเทที่เหมาะสมจะอยู่ที่ประมาณ 2 ถึง 3 เมตร (ความสูง) ต่อชั่วโมง
การเทคอนกรีต เทคอนกรีตให้สามารถเทได้อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคต่องานที่ไม่เกี่ยวข้อง จนต้องหยุดชะงักกลางคัน การเทคอนกรีตที่ดี คือการเทเพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีส่วนผสมสม่ำเสมอ ซึเมนต์ หิน ทราย ของเหลว ไม่มีการแยกตัว และไม่เกิดรูพรุน
การทำให้แน่น
จี้คอนกรีต ภาษาช่างที่เราคุ้นเคย ในช่วงกำลังเทคอนกรีต จำเป็นต้องทำคอนกรีตให้แน่นพร้อม ๆ กัน โดยให้เนื้อคอนกรีตทั่วถึงกัน เป็นเนื้อเดียวกัน โดยใช้เครื่องมือ-อุปกรณ์ เครื่องเขย่า หรือจะใช้เครื่องตบแต่ง ทั้งนี้เพื่อให้ได้คอนกรีตที่แน่น มีการยึดหน่วงกับเหล็กเสริมดีและได้ผิวเรียบ รอบๆ เหล็กเสริม และสิ่งที่จะฝังติดในคอนกรีต และตามมุมของแบบหล่อควรจะทำคอนกรีตให้แน่นเป็นพิเศษ อาจจะใช้ฆ้อนเคาะภายนอกของแบบหล่อด้านข้างเพื่อช่วยกระจายคอนกรีตไปแทรกทุกๆ มุมของแบบหล่อ แต่ไม่ควรกระทำแรงมาก และเวลานานเกินไป เพราะจะทำให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว โดยน้ำและส่วนที่ละเอียดทั้งหลายจะเคลื่อนตัวขึ้นข้างบน น้ำที่ขึ้นมานี้มักจะรวมตัวอยู่ใต้เหล็กเสริมและใต้มวลรวมขนาดใหญ่ ซึ่งจะทำให้แรงยึดหน่วงน้อยลง และกลายสภาพเป็นร่องขึ้นจนน้ำ สามารถไหลผ่านคอนกรีตได้
- การกระทุ้งด้วยมือ สำหรับคอนกรีตที่อยู่ในสภาพเทได้ ต้องใช้เครื่องมือกระทุ้งให้สุดความหนาของชั้นที่กำลังเท และควรกระทุ้งให้ถึงหรือ เลยเข้าไปในเนื้อคอนกรีตข้างใต้ ระยะลึกประมาณ 10 ซม. การใช้เกรียงตบแต่ง ตรงหน้าแบบหรือใกล้ๆกับแบบตั้ง จะช่วยลดความขรุขระที่ผิว และลดรูช่องว่างที่เกิดจากฟองอากาศด้วย สำหรับการกระทุ้งคอนกรีตที่ค่อนข้างแห้งด้วยมือ จะใช้เครื่องมือที่มีผิวหน้าเรียบๆ และหนักตบตรงผิวจนกระทั่งมอร์ต้าร์หรือซีเมนต์เพสต์ปรากฎเป็นแผ่นบางๆ ขึ้นที่ผิว ซึ่งเป็นลักษณะที่แสดงว่าช่องว่างในมวลรวมนั้นถูก ซีเมนต์เพสท์แทรกเต็มหมดแล้ว
- การเขย่าด้วยเครื่อง
โดยทั่วไปการเขย่าด้วยเครื่องมีผลดีคือ สามารถใช้กับกรณีที่ไม่สามารถทำให้แน่น ด้วยการกระทุ้งด้วยมือ ฉะนั้น การเขย่าด้วยเครื่องจะช่วยทำให้คอนกรีตที่มีค่าการยุบตัวต่ำสามารถอัดตัวแน่นได้ในแบบหล่อที่ลึกและแคบ หรือบริเวณที่มีเหล็กเสริมหนาแน่น และมีระยะเรียงของเหล็กเสริมแคบมาก ในกรณีคอนกรีตที่มีส่วนผสมเหลว และมีค่าการยุบตัวสูงจำเป็นต้องกระทุ้งคอนกรีตให้แน่นด้วยมือ แต่ถ้าคอนกรีตผสมเสร็จ เกิดแยกตัว เนื่องจากการเทคอนกรีตผิดวิธี จะแก้ไขปัญหานี้ ด้วยการใช้การเขย่าด้วยเครื่องไม่ได้
เครื่องเขย่าคอนกรีตแบ่งออกเป็น 3 ชนิด
- เครื่องเขย่าภายในแบบหล่อ
- เครื่องเขย่าที่วางบนผิวคอนกรีต
- เครื่องเขย่าชนิดที่ตรึงติดกับแบบหล่อ
การตกแต่งผิวหน้าคอนกรีต
เพื่อที่จะให้ได้ผิวหน้าของคอนกรีตที่สวยงาม และเป็นเนื้อเดียวกัน ควรเทคอนกรีตให้ต่อเนื่องกันด้วยคอนกรีตประเภท ชนิด กำลังอัด ค่ายุบตัวเหมือนกัน ใช้วัสดุผสมคอนกรีตประเภทเดียวกันและใช้วิธีการเทคอนกรีตแบบเดียวกัน ควรรอให้น้ำที่เยิ้มออกจากคอนกรีตระเหยหรือถูกกำจัดหมดก่อน ที่จะตกแต่งผิวหน้าคอนกรีต และไม่ควรตกแต่งผิวมากหรือนานเกินไป รอยแตกที่เกิดบนผิวที่ตกแต่งไปแล้ว สามารถจะกำจัดได้โดยการทำให้แน่น หรือตกแต่งอีกครั้งก่อนคอนกรีตเริ่มก่อตัว กรณีที่ต้องการผิวหน้าคอนกรีตที่เรียบและแน่น สามารถทำได้โดยกดเกรียงลงบน ผิวหน้าคอนกรีตที่ต้องการตกแต่งให้ทั่ว หลีกเลี่ยงงานตกแต่งผิวหน้าคอนกรีตในขณะที่ฝนตก
การบ่มคอนกรีต
คอนกรีตจำเป็นต้องได้รับการบ่มทันทีหลังจากเสร็จสิ้นการเท และควรบ่มต่อไปจนกระทั่งคอนกรีต มีกำลังอัดตามต้องการ อย่างน้อย 7 วันหรือต่ำกว่านั้นตามวิศวกรออกแบบ โดยทั่วไปแล้ว 28 วันซึ่งเป็นระยะเวลาแห้งสนิทและคอนกรีตพัฒนากำลังอัดได้สูงสุด หลักการทั่วไปของการบ่มที่ดี ต้องสามารถป้องกันคอนกรีตไม่ให้เกิดการสูญเสียความชื้นไม่ว่าจะด้วยความร้อนหรือลม ไม่ให้คอนกรีตร้อนหรือเย็นมากเกินไป ไม่ให้สัมผัสกับสารเคมีที่จะเป็นอันตรายต่อคอนกรีตและไม่ถูกชะล้างโดยน้ำฝนหลังจากเทคอนกรีตเสร็จใหม่ๆ
การถอดแบบหล่อและค้ำยัน
- ระยะเวลาถอดแบบหล่อและค้ำยันออกได้ ก็ต่อเมื่อคอนกรีตมีกำลังอัดเพียงพอ ที่จะสามารถรับน้ำหนักของคอนกรีต และน้ำหนักโครงสร้าง ที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการก่อสร้างต่อไปได้
- ขั้นตอนและระยะเวลาในการถอดแบบและค้ำยัน ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของคอนกรีต ซึ่งมีระยะเวลาตามการออกแบบคอนกรีตผสมเสร็จ ความสำคัญของโครงสร้าง ชนิดและขนาดของโครงสร้าง น้ำหนักที่กระทำต่อโครงสร้าง อุณหภูมิ และอื่น ๆ
- กรณีโครงสร้างทั่วไปซึ่งมิได้มีข้อกำหนดระบุไว้ สามารถถอดแบบหล่อและค้ำยัน โดยใช้หลักการค่ากำลังอัดของคอนกรีตขั้นต่ำดังแสดงดังต่อไปนี้
ทราบกำลังอัดจากการทดสอบกำลังอัด(เทสก้อนปูน)
ชนิดแบบหล่อของโครงสร้าง กำลังอัดขั้นต่ำของคอนกรีต (ksc หรือ กก./ตร.ซม.) แบบหล่อด้านข้างของ เสา คาน กำแพงและฐานราก 50 แบบหล่อท้องพื้นและคาน 140 - สำหรับโครงสร้างทั่วไปซึ่งไม่ได้มีข้อกำหนดระบุไว้ในตารางประกอบแบบ และไม่ได้ดูผลทดสอบกำลังอัดของคอนกรีตจากก้อนปูนตัวอย่าง (ท่านสามารถขอทดสอบได้ ฟรี หรือมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อย ตามปริมาณคอนกรีตที่ท่านเท สามารถปรึกษากับเจ้าหน้าที่ของ ปูนมิกซ์ได้) ให้ใช้หลักการ ระยะเวลาถอดแบบและค้ำยันเร็วที่สุดดังกล่าวต่อไปนี้
ไม่ทราบกำลังอัดจากการทดสอบกำลังอัด(เทสก้อนปูน)
ชนิดแบบโครงสร้าง อายุขั้นต่ำของคอนกรีต(วัน ) แบบด้านข้าง เสา คาน กำแพงและฐานราก 2 แบบท้องพื้น 14 แบบท้องคาน 21
ขนาด และ รายละเอียดระยะความปลอดภัยของของรถโม่ใหญ่น่ำเฮง
- น้ำหนัก
-
- น้ำหนักรถโม่ :
- 13,000.00 กก
- น้ำหนักบรรทุก :
- 12,000.00 กก
- ขนาด
-
- สูง :
- 3.8 เมตร
- ยาว :
- 8.53 เมตร
- กว้าง :
- 2.5 เมตร
- ความสูงท้องรถ :
- 45 ซม
- ระยะของถนน
-
- ความกว้างถนน :
- 4 เมตร
- โค้งหักศอก :
- 6 เมตร
- ราง
-
- รางเสริมยาว :
- 4 เมตร
- รางติดรถสูง :
- 1.7 เมตร
ข้อเสนอแนะ
คำนวณหาปูนพื้นที่สี่เหลี่ยม ฟุตติ้งสี่เหลี่ยม
คำนวณปริมาณคอนกรีตเทลาน พื้นราบ พื้นที่สีเหลี่ยม
คำนวณหาปูนเสาเข็มเจาะ หลุมวงกลม ทรงกระบอก
คำนวณปริมาณคอนกรีตเทหลุม หลุมเข็มเจาะ
คำนวณหาปูนบันไดไม่มีท้อง
คำนวณหาปูนผนัง กำแพง
คำนวณปริมาณคอนกรีตเทผนัง กำแพง